ขนมปังปิ้งอะโวคาโด พร้อมด้วยมะเขือเทศ ข้าวโพดปิ้งและซอสโชหยุบัลซามิก
อะโวคาโด | 2 ลูก |
น้ำไลม์คั้น | 1ช้อนโต๊ะ |
เกลือ | ปริมาณตามชอบ |
พริกไทยดำ (บดละเอียด) | ปริมาณตามชอบ |
ขนมปังธัญพืช (หั่นหนาประมาณ 2 ซม.) | 4 ชิ้น |
น้ำมันมะกอก | ปริมาณตามชอบ |
กระเทียม | 1 กลีบ |
ข้าวโพด (ปิ้ง, แยกแกนข้าวโพดออก) | 1 ฝัก |
มะเขือเทศเชอรี่ (หั่นเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน) | 150g |
เฟต้าชีส | 70g |
ใบทาร์รากอน | 1/2 ช้อนโต๊ะ |
ซอสโชหยุบัลซามิก
โชหยุ | 120ml |
น้ำส้มสายชูบัลซามิก | 120ml |
น้ำตาลทรายแดง | 50g |
อะโวคาโด ข้าวโพด มะเขือเทศเชอร์รี่ ฯลฯ วางบนขนมปังปิ้ง จากนั้นราดด้วยซอสอูมามิรสเค็มจากน้ำส้มสายชูบัลซามิกและซีอิ๊วขาว แม้ในช่วงเช้าที่วุ่นวาย คุณก็สามารถรับประทานอาหารเช้าที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการได้โดยไม่ยุ่งยาก
วิธีทำ
-
ทำซอสโชหยุบัลซามิก ใส่โชหยุ, น้ำส้มสายชูบัลซามิก, น้ำตาลทรายแดงลงในหม้อเล็กๆแล้วคนให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อนๆให้เดือด ละลายน้ำตาล
-
ปิ้งขนมปังทั้งสองด้าน ราดด้วยน้ำมันมะกอก ถูกระเทียมที่ด้านหนึ่งของขนมปัง
-
ปอกเปลือกอะโวคาโด เอาเมล็ดออกแล้วฝานเป็นชิ้นบางๆ บีบน้ำไลม์คั้นแล้วปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย
-
วางอะโวคาโดที่ขนมปังด้านที่ถูด้วยกระเทียม
-
วางซ้อนด้วยข้าวโพด, มะเขือเทศเชอร์รี่และเฟต้าชีส
-
ราดด้วยซอสโชหยุบัลซามิก
-
ท็อปปิ้งด้วยใบทาร์รากอน

https://www.ciachef.edu/
Culinary Institute of America ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1946 เป็นหนึ่งในโรงเรียนสอนทำอาหารชั้นนำของโลก CIA เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มและธุรกิจการบริการ โดยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ปริญญาตรี และอนุปริญญาในสาขาการทำอาหาร การทำขนม การจัดการธุรกิจอาหาร การจัดการการบริการ วิทยาศาสตร์อาหาร และวิทยาศาสตร์การอาหารประยุกต์ นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมสำหรับผู้บริหาร โปรแกรมการเข้าฟังการบรรยาย และคอร์สสำหรับมืออาชีพและผู้ที่ชื่นชอบด้วยเช่นกัน CIA ในฐานะที่เป็นคลังแห่งความคิดของวงการธุรกิจอาหารได้จัดให้มีการสัมมนา การพัฒนาความเป็นผู้นำ และบริการให้คำปรึกษา ในเครือข่ายนักศึกษาที่จบการศึกษาไปแล้วกว่า 50,000 คนทั่วโลกซึ่งรวมถึงผู้บุกเบิกและดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆของธุรกิจอาหาร CIA ตั้งอยู่ในนิวยอร์ก แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส และสิงคโปร์

วัตถุดิบที่ใช้คือโชหยุโคจิกับน้ำเกลือที่ทำจากถั่วเหลืองและข้าวสาลี ถั่วเหลืองนั้นเป็นที่มาของอูมามิ (รสชาติความอร่อย) และข้าวสาลีนั้นเป็นที่มาของกลิ่นหอมและความหวาน ส่วนสี กลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของโชหยุนั้นเกิดจากการทำงานของจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งทำให้โชหยุค่อยๆบ่มจนอิ่มตัว สภาพที่ได้รับการบ่มจนอิ่มตัวของโชหยุนี้เรียกว่า โมโรมิ หากคั้นโมโรมินี้ก็จะได้มาซึ่งโชหยุที่เสร็จสมบูรณ์